WIDTH="531" HEIGHT="40" id="tuktukrun1" ALIGN="">
1  
 
   
   
 
   
 
   
 
   
       
       
 
ตุ๊กตุ๊ก แฟรนไชส์ธุรกิจสร้างเงิน : ผสมผสานธุรกิจกับภูมิปัญญาไทย
    รถตุ๊กตุ๊ก พาหนะที่ไม่เคยลืมเลือนไปจากสังคม วันนี้กำลังจะสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับคนไทยอีกจำนวนมาก เมื่อบริษัทผู้ผลิต จับแปลงโฉม "ตุ๊กตุ๊ก" เป็นรถสรรพสินค้าเคลื่อนที่ ขายได้ทุกซอกมุมเมือง บริหารแบบ "แฟรนไชส์" จับตาอนาคต มีทั้งเกียร์ออโต ล้อแมก แอร์ พวงมาลัยพาวเวอร์ วิทยุเทปเครื่อง แรงสุด 1100 ซีซี ภายใต้คอนเซ็ปต์ ซิตี้คาร์ นายวชรฉัตร วงศ์วัชรนนท์ กรรมการ
ผู้จัดการบริษัทตุ๊กตุ๊กไทย จำกัด เปิดเผยถึงความ เป็นมาของการผลิต รถยนต์สามล้อหรือรถตุ๊กตุ๊ก ของบริษัทว่า มีความพยายาม ที่จะพัฒนารถยนต์ สามล้อ ให้เป็นรถที่เข้าสู่ธุรกิจอย่างสมบูรณ์แบบ ทั้งการประกอบอาชีพรับจ้างที่เป็นรถโดยสารแบบเดิมๆ และการดัดแปลงให้เกิดอาชีพใหม่ เช่น สามารถใช้เป็นพื้นที่ขายของ หรือขายบริการ ประเภทต่างๆ โดยมีเป้าหมายที่จะจับตลาดทั้งภายในและตลาดต่างประเทศ นายวชรฉัตร กล่าวว่าตนเองได้เริ่มทำการผลิตรถตุ๊กตุ๊กมากว่า 40 ปีแล้ว แต่เป็นบริษัทขนาดเล็ก จากนั้นได้ขยายเป็นบริษัทขนาดใหญ่ เมื่อประมาณ 10 กว่าปีที่ผ่านมา โดยมีโรงงานอยู่ที่ จ.อำนาจเจริญ และได้ย้ายฐานการผลิตมาที่ จ.ปราจีนบุรี ในเขตส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่อสะดวกต่อการส่งออก
 
 
       
 
    นายวชรฉัตร มองว่าตลาดรถยนต์สามล้อ นอกจากจะเป็นที่ต้องการของภายในประเทศแล้ว ยังมีโอกาสเปิดตลาดในต่างประเทศด้วย ซึ่งปัจจุบันจะมีบริษัทผู้ผลิตรถยนต์สามล้อรายใหญ่ของประเทศประมาณ 3 บริษัท จากนั้นบริษัทได้มีการพัฒนารูปแบบรถยนต์สามล้อ ให้มีความทันสมัยตรงกับความต้องการของตลาด ซึ่งเน้นไปที่สมรรถนะ คุณภาพ มาตรฐานที่สูงขึ้นกว่ารถสามล้อทั่วไป และวัตถุประสงค์ของการใช้งานของแต่ละประเภท ปัจจุบันบริษัทได้ผลิตรถยนต์สามล้อรุ่น "วิลลี่" และรุ่น "ไทย-วัน" พัฒนารูปลักษณ์เป็นแบบมิลเลนเนียม รูปทรงถูกออกแบบให้มีพื้นที่การใช้งานมากกว่าเดิม เครื่องยนต์ใหม่ขนาด 550 ซีซี โดยมีวัตถุประสงค์ให้เป็นประเภทรถหรู "CITY CAR" หรือใช้เป็นรถจำหน่ายสินค้าเคลื่อนที่ได้ตามความต้องการของลูกค้า ขณะที่ในรุ่น ไทย-วัน จะเป็นรถที่มีโอกาสเข้ามาแทนที่รถยนต์เล็กทั่วไปได้ เนื่องจาก ประหยัดเชื้อเพลิงและมีราคาใกล้เคียงกับรถจักรยานยนต์ชั้นดี นอกจากนั้นในอนาคตบริษัทยังวางแผนที่จะพัฒนารถยนต์สามล้อทั้งสองรุ่น ให้สามารถใช้เกียร์ออโต้ และติดตั้งระบบปรับอากาศทำความเย็นรวมทั้งการแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อความเหมาะสม เช่น ระบบไฟฟ้า เบรก ล้อแมก พวงมาลัยพาวเวอร์ รวมทั้งการพัฒนารูปลักษณ์ใหม่ๆ ตามความหมายของ "รถยนต์สามล้อแห่งชาติ"ซึ่งเป็นโครงการของรัฐบาล นอกจากนี้บริษัทยังได้เข้าร่วมกับโครงการ พลังงานทดแทนสนับสนุนการใช้เอธานอล หรือไบโอดีเซล เป็นเชื้อเพลิง ซึ่งจะเป็นรถยนต์สามล้อที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลคันแรก มีขนาด เครื่องยนต์ 1100 ซีซี
       
 
     เพื่อลดการพึ่งพานำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง จากต่างประเทศส่งเสริมการนำพืชผลทางการเกษตรมาใช้เป็นพลังงาน และลดปัญหาการเกิดมลพิษทางอากาศ ซึ่งก็จะเป็นผลดีต่อการขยายตลาดในต่างประเทศ อย่างไรก็ตามในด้านการตลาดนั้นบริษัท ได้มุ่งมาที่การทำธุรกิจกับรถยนต์สามล้อมากขึ้น เพื่อให้บุคคลทั่วไปหรือผู้ว่างงาน สามารถนำรถยนต์สามล้อมาใช้ประกอบอาชีพได้ เช่น รถรุ่นวิลลี่ จะสามารถดัดแปลงเป็นร้านขายของได้ทันที เช่น ขายอาหารประเภท FAST FOOD สเต็ก เบเกอร์รี่อาหารจานด่วน ขายหนังสือ หรือบริการประเภทต่างๆ เช่น ซักอบรีด ร้านดอกไม้ โดยบริษัทกำลังเจรจากับผู้ผลิตสินค้ารายใหญ่เพื่อนำโปรดักต์เข้ามาวางในรถ ทำตลาดในระบบแฟรนไชส์ ให้ผู้ซื้อสามารถซื้อรถไปแล้วมีอาชีพทันที ซึ่งขณะนี้บริษัทได้เตรียมรถยนต์สามล้อสำหรับระบบแฟรนไชส์ประมาณ 500 คัน
       
 
     ตลาดส่วนใหญ่จะกระจายไปทั่วประเทศ ทั้งในส่วนกลางและต่างจังหวัด ทั้งนี้บริษัทตั้งเป้าการจำหน่ายรถยนต์สามล้อทุกรุ่นของบริษัทไว้ที่ 50,000 คันต่อปี โดยจะเปิดรับสมัครตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ และร่วมกับบริษัทไทยธุรกิจการเกษตร จำกัด (TABCO) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)ที่จะช่วยให้สินเชื่อกับลูกค้า ธ.ก.ส. ทั่วประเทศ "มั่นใจว่าบริษัทจะทำยอดได้ตามที่ตั้งไว้ โดยเฉพาะในกลุ่มรถรุ่น วิลลี่ และไทย-วัน ที่ม ความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง และเป็นตลาดใหม่มุ่งไปที่การทำธุรกิจที่ผู้ซื้อสามารถใช้ประกอบ อาชีพได้ทันที โดยราคาของรถรุ่นวิลลี่จะอยู่ที่ 150,000 บาท และ ไทย-วัน 95,000 บาท" นายวชรฉัตร กล่าวต่อว่า สำหรับตลาดในต่างประเทศส่วนใหญ่
่จะเป็นตลาดประเทศเพื่อนบ้าน ตลาดเอเชียใต้ และตลาดยุโรป เช่น เยอรมนี อิตาลี แต่ทั้งนี้การจะรุกตลาดต่างประ- เทศได้เต็มตัวนั้นสินค้า จะต้องได้มาตรฐานในเกณฑ์ที่แต่ละประเทศยอมรับ ขณะที่ในด้านของราคา สินค้าจากประเทศไทยสู้ได้แน่นอน ซึ่งโดยรวมตัวเลขการส่งออกรถยนต์สามล้อของไทยจะอยู่ที่ 10,000-20,000 คันต่อปี ปัจจุบันแม้ภาครัฐจะให้ความสำคัญ และเห็นถึงสิ่งที่ผู้ประกอบการรถยนต์สามล้อดำเนินการมาโดยตลอดโดยเห็นชอบให้สถาบันยานยนต์ เข้ามาช่วยปรับปรุงมาตรฐานเพื่อให้รถยนต์สามล้อเป็น "รถแห่งชาติ" ซึ่งถือเป็นเรื่องดี ที่จะมีการสนับสนุน อุตสาหกรรมของคนไทยเพื่อคนไทย และสามารถพัฒนาคุณภาพมาตรฐาน ให้เป็นสินค้าส่งออกในระดับสากลได้ อย่างไรก็ตามแต่นโยบายดังกล่าวอาจถูกแทรกแซงจากบริษัทขนาดใหญ่ เพื่อกำหนดสเปก และกฎหมายต่างๆ ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการรายเล็กไม่สามารถต่อสู้ทางการตลาดได้ ดังนั้นรัฐบาลควรปกป้องผู้ประกอบการรายเล็กด้วย เพราะรถยนต์สามล้อถือเป็นธุรกิจของคนไทย และเป็นภูมิปัญญาไทยที่สืบทอดมานาน
       
       
Copyright @ 2003 By: Jaruwan Muanjumpon All rights reserved.