WIDTH="531" HEIGHT="40" id="tuktukrun1" ALIGN="">
1  
 
   
   
 
   
 
   
 
   
       
       
  "รถสามล้อ" เมืองตรังอนุรักษ์ไว้ก่อนจะตายจากไป
       
 
    เมื่อเอ่ยถึง "รถตุ๊กตุ๊ก" ในความรู้สึกของคนทั่ว ๆ ไปแล้ว ก็มักจะนึกถึง "รถตุ๊กตุ๊ก" ในกรุงเทพฯ แต่สำหรับที่เมือง ตรังจะเรียกกันว่า"รถสามล้อ" หรือเรียกกันตามรูปร่าง ของมันว่า "รถหัวกบ" โดยในส่วนหน้าคนขับ กับผู้โดยสาร จะนั่งคู่กันได้แค่เพียง ๒ คน และรถชนิดนี้ จะใช้พวงมาลัย เหมือนกับรถยนต์ทั่วไป ทำให้แตกต่างจาก "รถตุ๊กตุ๊ก" ของกรุงเทพฯ หรือที่อื่นๆ จนขณะนี้เหลือเพียงแห่งเดียว ในประเทศไทย "รถสามล้อ" เมืองตรังนั้น ได้รับอิทธิพล มาจากจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเป็นสินค้าที่ นำเข้ามา จากบริษัทไดฮัทสุ จำกัด
 
 
 
       
 
       อย่างไรก็ตาม "รถสามล้อ" ที่เราได้เห็นรูปร่างตามแบบในปัจจุบันนี้ ได้ผ่านการพัฒนากันมาเป็นจำนวน ๓ ช่วงด้วยกัน โดยเฉพาะการปรับเครื่องยนต์ จากเดิมสูบเดียวมาเป็นเครื่องยนต์ ๒ สูบ เพราะวิ่งได้เร็วกว่า เสียงเบา ไม่มีควัน แต่เปลือง น้ำมัน ทำให้สามารถเพิ่มรอบในการรับผู้โดยสารได้มากขึ้น หากจะนับจำนวน "รถสามล้อ" เมืองตรังที่ขับกันทั่วเมือง จากข้อมูลของสำนักงานขนส่งจังหวัดพบว่ามีอยู่ประมาณ ๖๖๔ คัน แต่ปัจจุบันที่ยังเห็นๆ กันอยู่ก็เหลือประมาณ ๕๐๐ คัน ทั้งนี้ ป้ายข้างจะมีลักษณะแปลกคือเป็นตัวอักษร ๑ ตัว และตัวเลข ๓ ตัว อยู่ทางด้านซ้ายของรถ เป็นตัวเลขที่ทำขึ้นนอกเหนือจาก ป้ายทะ เบียนรถ เพื่อให้ผู้โดยสารสามารถที่จะจำรถคันนั้นได้ง่ายขึ้น และเพื่อเป็นการป้องกัน ความปลอดภัย หากเกิดเหตุร้าย ขึ้นมา ปัญหาที่ทำให้ "รถสามล้อ" ค่อยๆ เหลือน้อยลง นอกจากจะมีปัญหาเรื่องของความนิยมที่ ลดน้อยถอยลง เพราะรถ จักรยานยนต์รับจ้างเข้ามาแทนที่แล้ว ยังประสบปัญหาในการซ่อมแซมเพราะอะไหล่หายากและมีราคาแพง นอกจากนั้น ก็ยังจะมีความยุ่งยากในการขึ้นทะเบียนรถเป็นอย่างมาก เพราะเจ้าของรถถอดใส้ ในท่อพักออกเพื่อ ให้รถวิ่งดีแต่มีปัญหา เสียงดังมาก ขณะเดียวกันการที่น้ำมันมีราคาแพงก็ทำให้ต้นทุนสูงมากขึ้น ที่สำคัญก็คือรถรุ่นนี้ ไม่มีการผลิตอีกแล้ว คันใดพังไปก็เท่ากับจบสิ้นไปเลย
       
 
       นายอานนท์ กรณีย์ อายุ ๔๓ ปี เล่าว่า เมื่อ ๑๐ ปีก่อนนั้นมีรายได้จากอาชีพนี้ประมาณวันละ ๒๐๐–๓๐๐ บาท แต่ปัจจุบันยอมรับว่าทั้งค่าน้ำมันที่เพิ่มประกอบกับจำนวนผู้โดยสารที่ลดน้อยลง เนื่องจากขณะนี้มี รถจักรยานยนต์ รับจ้าง มากขึ้น ถึง ๑,๐๐๐ กว่าคัน ทำให้รายได้ลดลงอย่างมากจนบางวันเหลือเพียงแค่ ๗๐–๘๐ บาทเท่านั้น และเมื่อหักค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้วแทบจะไม่เหลืออะไรเลย แต่ตนก็ยังคงทำต่อไปเพราะรักในอาชีพนี้ ส่วนนายธาดา รักษศรี อายุ ๕๑ ปี เล่าว่า ยึดอาชีพขับ "รถสามล้อ" รับจ้างมากว่า ๓๐ ปีแล้ว และเห็นว่าผู้ประกอบอาชีพนี้เริ่มจะลดน้อยถอยลงทุกวัน เนื่องจากมีรายได้ ที่ไม่เพียงพอ จุนเจือครอบครัว แต่ตนก็เป็นผู้หนึ่งที่ยังต้องการอนุรักษ์รถชนิดนี้ให้เหลืออยู่ เข้าใจว่าประชาชนในจังหวัดตรัง เริ่มมีรถส่วนตัว กันมากขึ้น รวมทั้งรถจักรยานยนต์รับจ้างที่มีจำนวนมาก จึงอยากให้ประชาชนสนใจมาใช้บริการเหมือนเมื่อครั้งในอดีต ซึ่งก็จะทำให้เมืองตรังมี "รถสามล้อ" เป็นสัญลักษณ์ และยังทำให้มีจุดเด่นในการท่องเที่ยวด้วย นางสาวสุขฤดี ตะเส็น อายุ ๓๖ ปี ผู้โดยสารรายหนึ่ง กล่าวว่า ใช้บริการ "รถสามล้อ" มาเป็นระยะเวลา ๑๐ ปีแล้ว มีความปลอดภัยสูง อีกทั้งเมื่อฝนตก แดดออก ก็ยังปลอดภัยกว่ารถโดยสารชนิดอื่น ส่วนค่าบริการแม้จะเพิ่มขึ้นตั้งแต่ราคา ๕ บาท ราคา ๑๐ บาท มาจนถึง ขณะนี้ ราคา ๑๕ บาท แต่เข้าใจว่าค่าน้ำมันราคาแพงขึ้นและราคานี้ก็มิได้ถือว่าสูงจนเกินไป และยังคงยังยืนยันที่จะใช้บริการ "รถสามล้อ" อีกต่อไป แม้ "รถสามล้อ" เมืองตรังในยุคปัจจุบันจะมีความนิยมน้อยลง เนื่องจากผู้คนหันไปนิยมของใหม่อย่าง รถรับจ้างประเภทอื่นๆ ซึ่งอาจจะสืบเนื่องมาจากความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการต้องการความคล่องตัว ในการทำงาน ท่ามกลางภาวะที่แข่งขันกัน แต่ชาวตรังหลายคนก็ยังเชื่อว่า"รถสามล้อ"ยังคงไม่สูญหาย และมีผู้สืบสาน เพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ของเมืองตรังอีกต่อไป
       
       
       
Copyright @ 2003 By: Jaruwan Muanjumpon All rights reserved.