WIDTH="531" HEIGHT="40" id="tuktukrun1" ALIGN="">
1  
 
 
   
 
 
 
       
       
เสาชิงช้า
     ตั้งอยู่หน้าวัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นเสาชิงช้าขนาดใหญ่ โครงยึดหัวเสาทั้งคู่ แกะสลักอย่างสวยงาม ทั้งหมดทาสีแดงชาด ตั้งอยู่บนแท่นหินขนาดใหญ่ เสาชิงช้าใช้ ในพิธีโล้ชิงช้า ซึ่งเป็นพิธีพราหมณ์ เป็นส่วนหนึ่งของพิธีตรียัมปวาย เป็นการต้อนรับพระอิศวร ซึ่งเป็นหนึ่งในสามเทพเจ้า ของศาสนาพราหมณ์หรือศาสนาฮินดูเสด็จลงสู่โลกในวันขึ้นเจ็ดค่ำเดือนยี่ มีการแห่พระเป็นเจ้าไปถวายพระพรพระเจ้าอยู่หัว เมื่อพระเป็นเจ้าเสด็จลงมาสู่โลกมนุษย์ก็ได้เชิญเทวดาองค์อื่น ๆ มาเฝ้าและมาร่วมพิธีด้วย ได้แก่ พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระคงคา และพระธรณีเทวดาเหล่านี้ พราหมณ์จะแกะ เป็นเทวรูปลงในไม้กระดานสามแผ่น เมื่อทำการบูชาในเทวสถานแล้ว จะนำไปปักในหลุมหน้าโรงพิธีนั่งดูโล้ชิงช้า หันหน้ากระดานเข้าหาที่มีพระยายืนชิงช้าจะมานั่ง เรียกว่ากระดานลงหลุม ในวันขึ้น 8 ค่ำ เดือนยี่
       
        พระราชพิธีตรียัมปวาย ทำที่เทวสถานสำหรับพระนคร 3 เทวสถาน คือ เทวสถานพระอิศวร เทวสถานพระมหาวิฆเนศวร และเทวสถานพระนารายณ์ โลกบาลทั้งสี่ (พระยายืนชิงช้า และนาลิวัน) จึงต้องโล้ชิงช้าถวายและรับน้ำเทพ มนตร์ เสาชิงช้า ศาสนาพราหมณ์มีความ-เกี่ยวพันกับชีวิตชาวไทยอยู่มาก เมื่อ สร้างกรุงเทพฯ เสร็จแล้วจึงมีการสร้างโบสถ์ พราหมณ์และเสาชิงช้า เดิมตั้งอยู่ ริมถนนบำรุงเมือง ทางจะเลี้ยวไปถนนดินสอ มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2327 ย้ายมาตั้งใน ที่ปัจจุบันเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อมาในสมัย รัชกาลที่ 6บริษัท หลุยส์ ทีเลียวโนแวนส์ ซึ่งเป็น บริษัทค้าไม้ได้ ้อุทิศซุงไม้สักเพื่อสร้างเสาชิงช้าใหม่ เสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2463ซ่อม ใหม่เมื่อ พ.ศ. 2502 มีส่วนสูงทั้งหมด 21.15 เมตร เสาชิงช้านี้ใช้พิธีตรียัมปวาย หรือพิธีโล้ชิงช้า ในศาสนาพราหมณ์ซึ่งจัดให้มีในเดือน ยี่ของทุก ๆ ปี เพิ่งจะยกเลิกไปเมื่อ พ.ศ. 2478 นี้เอง
       
       เสาชิงช้าหน้าวัดสุทัศน์ฯ นับเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของกรุงเทพมหานคร คนรุ่นใหม่บางคนอาจนึกภาพไม่ออกว่าจะเป็น ชิงช้าไปได้อย่างไร เพราะสูงออกอย่างนั้นแล้วเสาชิงช้ามีไว้ทำไม เสาชิงช้าเกี่ยวโยงกับคติพราหมณ์ที่เรียกว่า พิธีตรียัมปวาย ซึ่งเป็น พิธีขึ้นปีใหม่ของพราหมณ์ ตรงกับเดือนยี่ หรือราวเดือนมกราคม ตามคติพราหมณ์ เชื่อว่าพระอิศวรจะเสด็จ มาเยี่ยมชาวโลกในช่วง เวลานี้ จึงได้จัดให้มีพิธีการโล้ชิงช้าเป็นการถวายพระองค์ โดยทางราชการจะให้ขุนนางชั้นพระยาพานทอง สมมุติเป็น พระอิศวร มีขบวนแห่ไปที่เสาชิงช้า เมื่อไปถึงปะรำในพิธีแล้ว จะให้พราหมณ์สี่คนขึ้นโล้ชิงช้า รวมสามกระดานเป็น ๑๒ คน การโล้ชิงช้านี้ ทำสองวัน คือเช้าของวันขึ้น ๗ ค่ำ และตอนเย็นของวันขึ้น ๙ ค่ำชาวบ้านจึงจำขึ้นใจว่า"เจ็ดค่ำถีบเช้าเก้าค่ำถีบเย็น" พิธีตรียัมปวาย หรือการโล้ชิงช้านี้ เป็นพิธีใหญ่โตมโหฬารครึกครื้นที่สุดของกรุงเทพฯ ที่ถือปฏิบัติกันมาในสังคมไทยมาเนิ่นนาน กระทั่งเลิกไปในปี ๒๔๗๘ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแม้การโล้ชิงช้าจะเลิกไป แต่พิธีกรรมตามคติพราหมณ์ ยังคงฝังรากลึก ในคติแบบพุทธอย่าง แน่นแฟ้น เช่นเดียวกับคติความเชื่ออื่น ๆ ซึ่งมาพร้อมกับความหลากหลายของกลุ่มคน ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในผืนแผ่นดินนี้ สร้างในสมัย : 8 เมษายน 2327 (ร.1)
       
       เมื่อพูดถึงกรุงเทพมหานคร หรือ กรุงรัตนโกสินทร์ มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ คนไทยและชาวต่างชาติน่าจะนึกถึง โดยเฉพาะ โบราณสถาน ไม่ว่าจะเป็น พระบรมมหาราชวัง วัดพระแก้ว ฯลฯ แต่มีอยู่สิ่งหนึ่ง ที่หลายคนอาจจะคุ้นเคยเป็นอย่างดี เมื่อนึกถึง กรุงเทพ นั่นก็คือ เสาชิงช้า ปฏิมากรรมยักษ์สีแดงก่ำ ที่ตั้งอยู่ ระหว่าง ศาลาว่าการกรุงเทพฯ และ วัด สุทัศน์เทพวรารามนั้น เรา เรียก กันสั้นๆว่า เสาชิงช้า มากว่า 2 ศตวรรษ และ แม้ว่าในปัจจุบันเราจะได้เห็นแต่ เสาแดง ที่ตั้งสงบนิ่งโดยปราศจากกระดาน หรือที่ ยืนชิงช้า แต่ในอดีตนั้น ชิงช้ายักษ์นี้ เป็นที่ประกอบพระราชพิธีอันสำคัญ มาตั้งแต่รัชกาลที่ 1 และ มาสิ้นสุดเอาในสมัยรัชกาลที่ 7 ก่อนจะเปลี่ยนแปลงการปกครอง จาก ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็น ประชาธิปไตย ได้เพียงปีเดียว เป็นที่ทราบกันดีว่า ศาสนาฮินดูนั้นเป็น ศาสนาที่มีบทบาทในสังคมไทย เทียบคู่มากับ พุทธศาสนามาเนิ่นนาน เมื่อมาถึงรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระองค์ทรงพระราชทานที่ให้กับเหล่านักบวชพราหมณ์ ในเขตพระนครที่ไม่ห่างจาก พระบรมมหาราชวัง มากนัก นอกจากนั้น พระองค์ยังทรงโปรดให้สร้าง เทวสถาน เพื่อให้เป็นที่สถิตย์ของเทพเจ้าฮินดู พร้อมทั้งเสาชิงช้ายักษ์ เหมือนกับ สมัยกรุงศรีอยุธยา เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ เหตุที่เชื่อกันว่า ควรมีการโล้ชิงช้า นั้นสมเด็จพระกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ทรง สันนิษฐานว่าน่าจะมีไว้แก้บน และการแก้บนนี้จะต้องทำต่อหน้ากษัตริย์ เนื่องจาก กษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพ (ตามระบอบ สมบูรณา ญาสิทธิราช) แต่เนื่องจากกษัตริย์เองก็มีพระราชกรณียกิจที่ต้องทำมาก จึงได้ทรงแต่งตั้ง ให้ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มา เป็นผู้แทนพระองค์ และตัวแทนที่ว่านี้เรียกว่า พระยายืนชิงช้า

       
Copyright @ 2003 By: Jaruwan Muanjumpon All rights reserved.
Copyright @ 2003 By: Jaruwan Muanjumpon All rights reserved.