WIDTH="531" HEIGHT="40" id="tuktukrun1" ALIGN="">
1  
 
 
   
 
 
 
       
       
 
ประวัติโดยสังเขปของวัดสะเกศราชวรมหาวิหาร
 
 
     วัดสะเกศฯ เป็นวัดโบราณ สร้างแต่เมื่อใดไม่ปรากฎ เดิมชื่อวัดสะแก มีความสำคัญปรากฎในพงศาวดาร เมื่อ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จฯไปทำการศึกสงคราม ที่กรุงกัมพูชาทรงทราบว่าเกิด จลาจลขึ้นในกรุงธนบุรี จึงตัดสินพระทัยเสด็จฯกลับวันเสาร์ เดือน 5 แรม9 ค่ำปีขาลจ.ศ.1144 ( พ.ศ.2325) โดยเวลามงคลฤกษ ์ทรงประกอบพิธี สรงน้ำมรุธาภิเษก ณ วัดสะแก แล้วเสด็จฯโดยกระบวนทางสถลมารคไป ยัง วัดโพธาราม ( วัดพระเชตุพน ) เสด็จฯลงเรือพระที่นั่งข้ามไป พระราชวังกรุงธนบุรีเสนาพฤฒามาตย์ทั้งปวงอัญเชิญเสด็จฯ ผ่านพิภพปราบดาภิเษก ประดิษฐานพระราชวงศ์จักรีดำรงรัฐสีมา ในสยามประเทศสืบมาเมื่อทรงย้ายราชธานีมายังกรุงรัตนโกสินทร์
       
 
    เรื่องเกี่ยวกับภูเขาทองที่วัดสะเกศ ความมีอยู่ว่า เมื่อปีพ.ศ.2440 นายวิลเลี่ยม เปปเป ชาวอังกฤษ ที่รับราชการอยู่ที่ประเทศอินเดีย ที่เมืองบัสติมณฑลตะวันตก เฉียงเหนือติดกับชายแดนเมืองเนปาล ได้ขุดลงไปพบในพูนดินที่มีขนาดโต ที่ชาวบ้านเรียกว่า โกต ซึ่งอยู่ในที่ดินของเขาที่ตำบล ปิปราห์วะ พบพระสถูปโบราณ และลึกลงไปในพระสถูป พบหีบศิลาหนามาก ฝาหีบมีรอยแตกแต่ก็ยังปิดสนิทติดกันอยู่ เมื่อเลื่อน ฝาหีบศิลาออก ได้พบผอบศิลาทำด้วยโซปสโตน (เป็นศิลาอ่อนผิวนวล ลูบลื่นคล้ายสบู่) และเครื่องประดับมีค่าต่าง ๆ เช่น บุษราคัม โกเมน อเมธิส ฯลฯ ตามรอบขอบฝาผอบศิลานั้น มีคำจารึกเป็นอักษรพราหมณ์แบบเมริยะ อายุไม่ต่ำกว่า 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งผู้เชี่ยวชาญต่างๆได้ร่วมกันแปลออกมาว่าที่บรรจุพระสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้านี้ เป็นของสากยราชสุกิติกับพระภาตา พระภคนี พระโอรส และพระชายา สร้างขึ้นอุทิศถวาย " ซึ่งตรงกับในมหาปรินิพพานสูตรที่กล่าวว่า วงศ์สากยราชแห่งเมือง กบิลพัสดุ์ได้ร้อง ขอส่วนแบ่งพระพุทธสารีริกธาตุหลังจากที่ถวายพระเพลิงแล้ว และได้สร้างสถูปบรรจุไว้
       
 
       นายวิลเลี่ยม เปปเป ได้ทำรายงานการขุดครั้งนี้อย่างละเอียด เสนอขึ้นไปตามลำดับ ได้มีการตรวจสอบ โดยผู้เชี่ยวชาญ และนักปราชญ์ ชาวยุโรปทั้งหลายต่างยอมรับว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุที่เป็นของดั้งเดิมแน่นอน เมื่อข่าวเรื่องการขุดพบ พระบรมสารีริกธาตุเผยแพร่ไป มีผู้แจ้งความจำนงขอรับพระบรมสารีริกธาตุไป สักการบูชาจำนวนมาก ทางรัฐบาลอินเดีย และข้าหลวงใหญ่ประเทศอังกฤษ( GOVERNOR) แห่งมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ ได้พิจารณาร่วมกันปรึกษา ที่ประชุมตัดสินว่า สมบัติอันมีค่าต่างๆ ที่พบในสถูป ให้แยกไปตามพิพิธภัณฑ์ทั้งหลายในประเทศอินเดีย ส่วนพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งเป็นอัฐิและอังคารนั้น เป็นของนับถือศักดิ์สิทธิ์ของพุทธศาสนิกชน รัฐบาลอินเดียมีความประสงค์จะทูลเกล้าฯถวายแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม อันเป็นบรมกษัตริย์ ซึ่งทรงนับถือพระพุทธศาสนาอยู่พระองค์เดียวในโลก เพื่อขอให้ทรงเป็น องค์ประธานพิจารณาพระราชทานแก่ผู้ที่สมควรจะได้รับรักษาไว้ต่อไป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปิติโสมนัสยิ่ง โปรดเกล้าฯให้พระยาสุขุมนัยวินิต และ หลวงพินิจ อักษร ออกไปรับพระบรมสารีริกธาตุ ณ ประเทศอินเดียเมื่ออัญเชิญมาถึง แผ่นดินสยาม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรด กระหม่อมพระราชทานแก่ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา 4 ประเทศ คือ พม่า ลังกา รัสเซีย และ ญี่ปุ่น สำหรับส่วนของประเทศสยาม โปรดเกล้าฯให้ประกอบพระราชพิธีบรรจุที่พระเจดีย์บรมบรรพต วัดสะเกศเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2442
       
       
Copyright @ 2003 By: Jaruwan Muanjumpon All rights reserved.