พาหนะการเดินทางที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของประเทศไทย |
|
พ.ศ.2476 รถสามล้อได้ถือกำเนิดขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรกที่จังหวัดนครราชสีมา
โดยนาวาอากาศเลื่อน พงษ์โสภณ นำรถลาก หรือรถเจ็ก
มาดัดแปลงร่วมกับจักรยาน รถสามล้อแบบนี้ ถือเป็นต้นแบบของรถสามล้อ
ที่ใช้รับผู้โดยสารแพร่หลายไปทั่วประเทศจนถึงปัจจุบัน
|
|
|
ระยะเวลาต่อมา ได้มีผู้นำรถจักรยานมาดัดแปลง
โดยเพิ่มล้อและกระบะพ่วงเข้าที่ด้านข้างติดตั้งเก้าอี้หวายยึดแน่นกับกระบะออกวิ่งรับจ้างโดยเฉพาะ
รถสามล้อประเภทนี้จัดว่าเป็นรถต้นแบบ ของสามล้อพ่วงข้าง
ปัจจุบัน สามล้อพ่วงข้าง
แบบดังกล่าวยังคงใช้กันอย่างแพร่หลาย ในจังหวัดทางภาคใต้
|
|
|
เพื่อเป็นการทุ่นแรง และสามารถรับส่งผู้โดยสารได้ในระยะที่ไกลขึ้น
นักประดิษฐ์ชาวไทยได้ดัดแปลง นำเครื่องจักรยานยนต์มาติดกับรถสามล้อ
แบบที่ใช้คนถีบปรากฎว่าได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย
เพราะนอกจากไปได้ ในระยะทางที่ไกลกว่าแล้ว ความรวดเร็วก็เป็นส่วนสำคัญ
ปัจจุบันสามล้อเครื่องสามารถพบเห็นได้ในทุกภาคของประเทศไทย
|
|
|
ซาเล้ง
หรือสามล้อแดง เป็นรถสามล้ออีกประเภทหนึ่ง
ที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อใช้ส่งสินค้าที่มีนำหนักไม่มากและระยะทางไม่ไกลนัก
คุณลักษณะเป็นสามล้อใช้แรงถีบ ผู้ขับขี่อยู่ด้านหลังกระบะบรรทุก
เมื่อปี พ.ศ.2526 ได้เกิดน้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพฯ
จึงมีการนำเครื่องยนต์ขนาดเล็กมา ดัดแปลงติดตั้งกับซาเล้ง
วิ่งรับจ้างโดยสารตามตรอกซอยต่าง ๆ
|
|