WIDTH="531" HEIGHT="40" id="tuktukrun1" ALIGN="">
1  
 
 
   
 
 
 
       
       
 
     ปากคลองตลาด เป็นอีกสถานที่ หนึ่งที่พวกเรามัก จะได้พบเห็นพาหนะ ที่เป็นที่ยอดฮิต ของนักช้อบ ทั้งหลายเมื่อได้ของตาม ที่พอใจแล้วก็ขนของ ขึ้นรถ"ตุ๊กตุ๊ก" รถตุ๊กตุ๊ก นอกจากจะมีความคล่องแคล่ว ว่องไวแล้วยังบรรทุกของได้เป็นจำนวนมากรถตุ๊กตุ๊ก จึงเป็นที่นิยมของคนทั่วไป
 
       
       ในอดีต ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร ์ที่มนุษย์เรานิยมจะจับจองที่ดินตั้ง เป็นชุมชนขึ้นตามริมน้ำมาโดยตลอด ทั้งนี้ เป็นเพราะสายน้ำเป็นทั้งแหล่ง อาหารและแหล่งสัญจร ที่สำคัญที่มนุษย์พึงยึดเพื่อยังชีพนั่นเอง กล่าวถึงการตั้งชุมชนริมน้ำนั้น ประเทศไทยเราเองก็นิยมตั้งชุมชน ริมน้ำเหมือนๆ กับสากลโลกด้วยเหตุผลเดียวกัน และแหล่งทำมาหากินของ ชาวไทยเองก็เกิดขึ้นที่ริมน้ำด้วยเช่นกัน ที่ริมน้ำเจ้าพระยา แม่น้ำสายหลักของภาคกลางที่หล่อเลี้ยงชีวิตเรามา เนิ่นนานนั้น มีชุมชนใหญ่ที่สำคัญๆ อยู่มากมาย ชุมชนหนึ่งที่ถือว่าเป็นแหล่ง ทำมาหากินของคนบางกอกมานานกว่า 3 ศตวรรษนี้ ตั้งอยู่ระหว่างราชธานีเดิม อย่างกรุงธนบุรีและราชธานีปัจจุบันอย่างกรุงเทพ มหานครพอดิบพอดี ชุมชนนี้ เป็นแหล่งทำมาหากินที่สำคัญเนื่องจากที่นี่เป็น ตลาดสดที่กินเนื้อที่มากที่สุดใน กรุงเทพนั่นเอง
       
      ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยานั้น นอกจากชาวไทยแล้ว ยังมีชาวต่าง ชาติที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอยู่ ที่ฝั่งบางกอกไม่น้อย โดยเฉพาะชาวจีน ที่สยามเราทำการค้าสำเภามาตั้งแต่สมัย สุโขทัยนั้น ก็มีบทบาทที่สำคัญที่ช่วยกัน สร้างชุมชนริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นและที่บริเวณถนนจักรเพชร ระยาวไปจนถึงถนนมหาราชในปัจจุบันที่เราเห็น เป็นตลาดสดขนาดใหญ่ที่ตั้งโอบล้อมวัดราชบูรณะ โรงเรียนราชินีและโรงเรียน สวนกุหลาบนั้น เป็นตลาดสดแหล่งใหญ่ของเกษตรกร ชาวประมงที่จะมาขาย ต่อผู้ค้าคนกลางที่จะส่งไปขายเป็นสินค้าปลีก ย่อยอีกทอดหนึ่งนั้น ประกอบไป ด้วยตลาดใหญ่ถึง 5 แห่งตั้งติดๆ กันเลยทีเดียว ตลาดนี้เราเรียกกันว่า "ปาก คลองตลาด"
       
     ปากคลองตลาด ตลาดขนาดใหญ่ที่เรารู้จักกันดีว่าเป็นแหล่งขายส่งผัก ผลไม้สด รวมทั้งดอกไม้สดนั้น แต่ก่อนเป็นตลาดค้าปลาขนาดใหญ่ที่ส่งตรง มาจากแม่น้ำท่าจีน (สมุทรสาคร) แล้วของที่ส่งผ่านมาทางแม่น้ำเจ้าพระยา มายัง "ปากคลองตลาด" นี้ เกี่ยวข้องกับคำว่า "คลอง" ได้อย่างไร ทำไมไม่ เรียกว่า "ปากแม่น้ำตลาด" นั้น มีบันทึกกล่าวไว้ว่า ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลก ทรงโปรดฯ ให้ขุดคลองหลายสายมาตั้งแต่เริ่มสถาปนากรุงเทพกัน เลยทีเดียว และมีคลองเล็กสายหนึ่งที่รัชกาลที่ 1 ทรงโปรดฯ ให้ขุดที่ข้างวัด บูรณศิริอมาตยารามขึ้น ซึ่งคลองเล็กนี้เองที่ก่อให้เกิดชุมชนริมน้ำขนาดใหญ่ ที่สมัยก่อนเรียกว่า "คลองตลาด" อีกทั้งในย่านที่ไม่ไกลกันนี้ ก็มีคลองขุดที่ฝั่ง บางกอกมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2315 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสิน เรียกว่า "คลองใน" ซึ่งคลองทั้ง 2 แห่งนี้ ก็กลายมาเป็นตลาดสดแหล่งเดียว กันที่ยังคงเน้นการค้าปลาเป็นหลักมาจน ถึงแนดินของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่โปรดฯ จะเรียกตลาดนี้ว่า "ตะพานปลา" มา เพียงช่วงระยะหนึ่ง ก็มีการเปลี่ยนจากตลาดค้าปลาไปยังตำบลวัวลำพอง หัวลำโพง แทน ตลาดปลานี้จึงแปรสภาพเป็นตลาดสดที่ค้า สินค้าเกษตร กรรมที่เน้นการค้าส่งผัก ผลไม้และดอกไม้สด มาจนถึงทุกวันนี้
       
       
Copyright @ 2003 By: Jaruwan Muanjumpon All rights reserved.