พาหนะการเดินทางที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของประเทศไทย |
|
รถตุ๊กตุ๊ก
มีกำเนิดมาจากการนำสามล้อ เครื่องกระบะบรรทุกจาก
ประเทศญี่ปุ่นเข้ามาดัดแปลงเป็นรถนั่งโดย สาร เมื่อปี
พ.ศ. 2503เพื่อทดแทน รถสามล้อถีบซึ่งถูกห้ามวิ่งในเขต
กรุงเทพฯปัจจุบันประเทศไทยสามารถผลิตได้เอง และส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ
ในนาม "TUK-TUK"
สามล้อตุ๊กตุ๊ก มีบริการทั่วไปทุกจังหวัดและเป็นที่นิยมเป็นอย่างยิ่งของนักท่องเที่ยว
ชาวต่างประเทศ
|
|
|
รถตุ๊กตุ๊กสองแถว
เป็นรถที่มีวิวัฒนาการมาจาก รถตุ๊กตุ๊กธรรมดา
โดยดัดแปลงเบาะนั่งด้านหลังเป็นที่นั่งสองแถว ทั้งนี้เพื่อให้สามารถรับผู้โดยสารได้จำนวนมากขึ้น
และเก็บค่าโดยสารเป็นรายคน ไม่ได้เหมาทั้งคัน เช่นรถตุ๊กตุ๊กธรรมดาสามารถพบเห็นได้ตามแหล่งชุมชนใหญ่
ๆ เช่น ตามท่ารถโดยสาร ท่าเรือข้ามฟากหรือตลาดสด
|
|
|
ด้วยสายเลือดของนักประดิษฐ์ไทย ได้มีการนำรถตุ๊กตุ๊กธรรมดา
มาดัดแปลงและประดับตกแต่งเพื่อความสวยงาม ไม่ว่าจะเป็นตัวถัง
วงล้อ เบาะนั่ง แผงหน้าปัด กระบังหนา รวมทั้งเครื่องยนต์
ที่เปลี่ยนจากเครื่องยนต์ 2 จังหวะ มาเป็น 4 จังหวะ
จากตุ๊กตุ๊กธรรมดา ก็กลายเป็นตุ๊กตุ๊กเดอลุกซ์
ซึ่งมีวิ่งบริการในหลายจังหวัดของภาคตะวันออก
|
|
|
ในยุคที่เครื่องยนต์ใช้แล้วราคาถูกจากต่างประเทศ
หลั่งไหลเข้ามาแทบล้นตลาด ตามชื่อที่รู้จักกันว่า
"เครื่องเก่าเซียงกง"
นักประดิษฐ์ไทยแถบจังหวัดภาคตะวันออกก็นำเครื่องยนต์เหล่านี้
ไปดัดแปลงออกติดตั้งในสามล้อเครื่อง เพื่อเพิ่มสมรรถะ
ทั้งด้านกำลังเครื่องยนต์ ความเร็ว ความกว้างของที่นั่งโดยสาร
และพื้นที่สำหรับบรรทุกสิ่งของ
|
|