พาหนะการเดินทางที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของประเทศไทย |
|
เมื่อครั้งสถานีอาวกาศ "สกายแล็บ"
กำลังเป็นที่กล่าวขานไปทั่วโลก คนไทยในขณะนั้นได้ประดิษฐ์สามล้อขึ้น
และเรียกชื่อตามสมัยนิยมว่า "สามล้อสกายแล็บ"
โดยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่จังหวัดอุดรธานี แล้วแพร่กระจายไปทุกจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือลักษณะเป็นสามล้อที่ใช้กำล้งเครื่องยนต์
มอเตอร์ไซค์ ที่นั่งโดยสารตอนหลังเป็นสองแถว จุดเด่นของสถายแล็บ
ก็คือสีสันที่สดใน และช่วงหน้าจะมีลักษณะเชิดสูงขึ้น
|
|
|
เมื่อมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ถือกำเนิดและแพร่หลายไปทุกท้องถิ่นทั่วประเทส
ก็มีแนวคิดว่าจะทำอย่างไร จึงจะรับผู้โดยสารได้ครั้งละหลาย
ๆ คน รถสามล้อแบบมอเตอร์ไซค์พ่วงข้างจึงถูกนักประดิษฐ์ขึ้น
เมื่อไม่ต้องการออกรับจ้างผู้โดยสารก็สามารถถอดเฉพาะตัวรถ
ขับขี่ไปทำธุรกิจได้ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เรียกสามล้อแบบนี้ว่า"
ไก่นา "
|
|
|
อาชีพรับซื้อของเก่าประเภท ขวดเปล่า
กระดาษหนังสือพิมพ์ หรือเศษโลหะ ซึ่งแต่เดิมเรามักจะเห็นภาพของชาวจีนชรา
พร้อมด้วยหาบเข่งคู่บนบ่าเดินร้องประกาศไปตามบ้าน
แต่ปัจจุบัน จากการนำเอาซาเล้งหรือสามล้อแดงมาดัดแปลงต่อกระบะให้ยาวขึ้น
นาบางส่วนของรถมอเตอร์ไซค์ขนาดเล็ก มาเชื่อมต่อเข้าก็เกิดสามล้ออีกประเภทหนึ่งเข้ามาแทนหาบเข่งคู่
|
|
|
จากจุดกำเนิด พ.ศ. 2476 สายทางสามล้อไทย
ได้ดำเนินและวิวัฒนาการตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีมาโดยลำดับ
อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นสามล้อประเภทที่ยังใช้แรงคน
หรือกำลังเครื่องยนต์ ก็ได้ถูกดัดแปลงมาใช้เพื่อการประกอบสัมมาอาชีพ
อย่างกว้างขวางไม่ว่าจะเป็นขนมถาดไอศครีม ผลไม้ดองหรือลูกชิ้น-ไส้กรอก
|
|